สารบัญ : กดอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลย!
โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด (Heatstroke)
ระวัง! โรคที่เกิดในช่วงหน้าร้อน โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด (Heastroke)
สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนนี้ ว่าอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะสูงได้ถึง 42-43 องศาเซสเซียส ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเจ็บปวด เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากอาหารและน้ำดื่ม แต่อีกโรคที่มีการพูดถึงกันน้อย ทั้งที่มีคนเป็นบ่อยในช่วงหน้าร้อน คือ โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด (Heatstroke) ซึ่งโรคนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน จึงได้ฝากย้ำเตือนประชาชนในเขตพื้นที่เฝ้าระวัง และดูแลสุขภาพตนเองในช่วงหน้าร้อนนี้ และแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในเขตพื้นที่รู้จักถึงโรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด (Heatstroke) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด (Heatstroke) เป็นโรคที่เกิดจากที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยมีอาการเบื้องต้น ดังนี้
- เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- วิตกกังวล สับสน ปวดศีรษะ
- ความดันต่ำ หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้า
- และอาจมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะขาดเหงื่อ เพ้อ ชัก ไม่รุ้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อค และอวัยวะต่างๆในร่างกายล้มเหลว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด
1. Classical Heatstroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไป ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอากาศร้อน พบบ่อยในผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ คือ อุณหภูมิในร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ
2. Exertional Heatstroke เกิดจากการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่ต่างกันตรงที่กลุ่มแรกนั้นมีเหงื่อออก และพบอาการอื่นแทรกซ้อน
บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคลมแดด
- ทหารที่เข้ารับการฝึก โดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมกับการเผชิญสภาพอากาศร้อน
- นักกีฬาสมัครเล่น
- ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศร้อนชื้น
- ผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มเหล้าจัด
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมแดด
- นำผู้ป่วยเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
- เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
วิธีการป้องกันโรคลมแดด
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
- สวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี
- ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด
- หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกาย หรือการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด
- เด็กเล็กและคนชราควรดูแลอย่างใกล้ชิด จัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กและคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง
Super Fresh อยากให้ทุกท่าน เฝ้าระวังและดูแลสุขภาพตัวเองในช่วงหน้าร้อน โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ให้สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นอยู่เรื่อย เพื่อการใช้ชีวิตที่มีแต่ความสุขต่อไป